DBMS คืออะไร
DBMS ย่อมาจาก Database Management System
DB คือ Database หมายถึง ฐานข้อมูล
M คือ Management หมายถึง การจัดการ
S คือ System หมายถึง ระบบ
DBMS คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล
หรือซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการเกี่ยวกับฐานข้อมูล
โดยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั้งในด้านการสร้าง การปรับปรุงแก้ไข
การ
เข้าถึงข้อมูล และการจัดการเกี่ยวกับระบบแฟ้มข้อมูลทางกายภาพ
ภายในฐานข้อมูลซึ่งต่างไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ
หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์
ในการติดต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDL หรือ
จะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS
นำมาแปล (Compile) เป็นการกระทำต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ
เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลใน ฐานข้อมูลต่อไป
DBMS
ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence
ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์
และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS
นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์
ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้น
อยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language
ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3
ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึง
ประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์
ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น
หน้าที่ของ DBMS
1.) ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ
2.)
ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน
เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล
(Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ
3.)
ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล
โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้
4.) ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
5.) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน data dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)
6.) ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น